วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประวัติที่ทำให้เกิดน้ำหอม

            

             คำว่า "Perfume" คำนี้มีรากศัพท์มาจากภาษา ละติน ที่แปลว่า "ควัน"ซึ่งเราเชื่อกันว่านํ้าหอมนั้นเกิดขึ้นมานานแล้ว จากหลักฐานภาพวาดจิตรกรรมฝาผนัง ที่วิหารของพระราชินี Hatshepsut ที่เมือง Thebes ประเทศ Egypt เป็นรูปของหญิงสาวกำลังโชลมนํ้าหอมลงบนศรีษะ  
             ซึ่งได้แสดงให้เห็นว่ามีการใช้นํ้าหอม กันแล้วในยุคนั้น ซึ่งคาดว่านักเดินเรือชาวอิยิปต์ได้ไปนำมาจากดินแดนอื่น 
          น้ำหอมมีความเกี่ยวพันอันลึกซึ้งกับวิวัฒนาการของเผ่าพันธุ์มนุษย์ครั้งก่อนประวัติศาสตร์ มนุษย์รู้จักการปรุงแต่งรสอาหารด้วยการเอากลิ่นหอมจากน้ำมันและเนื้อไม้และชาวอียิปต์โบราณบูชาเทพเจ้าของเขาด้วยเครื่องหอมและน้ำมันหอมระเหยซึ่งต่อมาได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นในการเฉลิมฉลองพิธีการต่างๆทางด้านศาสนาและประทินความงามของสตรีชาวกรีกที่จะเดินทางกลับจากการแสวงหาโชคต่างแดนด้วยการนำเครื่องหอมใหม่กลับมาด้วยในขณะที่ชาวโรมันโบราณเชื่อว่าน้ำหอมมีคุณสมบัติด้านการบำบัดโรคร้ายได้
             ในศตวรรษที่ 16 เป็นสมัยแห่งการรวมตัวเป็นหนึ่งระหว่างการทำถุงมือ และน้ำหอมเป็นยุคแห่งแฟชั่นของของถุงมือหอม แม้ว่าชนชั้นสูงในสมัยกลางของยุโรป ได้มีการชำระล้างร่างกายเป็นประจำในทางปฏิบัติ สิ่งเหล่านี้ได้ถูกละเลยมาถึง 2 ศตวรรษ หลังจากการฟื้นฟูศิลปะ

วิทยา
ในทวีปยุโรป ในระหว่างศตวรรษที่ 14-16 ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจาก " สภาของเทรนท์ "(Council of trent)การจำหน่ายน้ำหอมจึงได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการในการกลบกลิ่น ที่ไม่พึ่งประสงค์

              ก้าวสำคัญในประวัติศสาตร์ของนํ้าหอมนั้นจะเกิดขึ้นในยุคกลาง (Middle ages) เมื่อชาวอาหรับ (Arabs)ได้คิดค้นพัฒนา เทคนิคในการกลั่นนํ้าหอมได้เป็นผลสำเร็จ พื้นที่ ขนาดใหญ่โตของอาณาจักรเปอร์เซีย ได้ทำการ ปลูกดอกกุหลาบ เพื่อที่จะนำมาสกัดเป็นนํ้าหอม เนื้อที่ ที่ใช้ปลูก ดอกกุหลาบนี้ใหญ่โตมหาศาลมาก จนมี เรื่องเล่าขานกันว่า "กรุง Baghdad" (เมืองหลวงของประเทศอิรักในปัจจุบัน)ในสมัยนั้นได้สมญานาม ที่เรียกขานกันว่า "City of Fragrances"นอกจากนี้ชาวอาหรับยังได้ค้นพบ ส่วนผสมตัวใหม่ในการทำ นํ้าหอมอีกด้วยนั่นก็คือ สารที่ได้จากตัวชะมด หรือ กลิ่น ชะมดนั่นเองชาวอาหรับได้นำเจ้ากลิ่นชะมดนี้ไปผสมกับปูนขาว และพวกเขาก็นำ ปูนขาวที่ได้นี้ไปใช้สร้างสุเหร่า (Mosque)และพระราชวัง ซึ่งก็ทำให้ได้สุเหร่า และพระราชวังที่มีกลิ่นหอมไปทั่วทั้งเมือง และนี่คืออีกหนึ่งที่มาจากเรื่องเล่าถึงคำว่า  "City of Fragrances" นั่นเอง
               ในศตวรรษที่ 17 ซีเวต (Civet) และมัส (Musk) ได้กลายเป็นแฟชั่นในขณะที่ความพึ่งพอใจในกลิ่นที่หอมหวาน ดอกไม้ และกลิ่นผลไม้ ได้เข้าแทนที่
              ในศตวรรษที่ 18 มีการใช้น้ำหอมตัวใหม่ๆ และขวดน้ำหอม ที่ผลิตขึ้นอย่างสุรุ่ยสุร่ายแม้กระทั่งมีการเติมน้ำหอมลงไปในถ่านร้อนๆ เพื่อให้เกิดกลิ่นหอม ในวันที่เรียกกันว่า " Ash Wednesday " เถ้าถ่านแห่งวันพุธ ความเจริญก้าวหน้าในด้านอุตสาหะกรรมเคมี

               ในศตวรรษที่ 19 ทำให้มีการผลิตน้ำหอมสังเคราะห์ ตลอดจนถึงน้ำหอมที่สกัดจากธรรมชาติ และการประดิษฐ์ขึ้นของน้ำหอมกลิ่นใหม่ การผลิตน้ำหอมในเชิงทางการค้าได้อุบัติขึ้นในฝรั่งเศส ณ.เมืองกราเซ ( Grasse) ท่ามกลางความเจริญมั่งคั่งของธุรกิจทางการค้า น้ำหอมความหรูหราความก้าวหน้าเป็นเครื่องหมายแสดงถึงความรุ่งเรือง ในศตวรรษที่ 19ได้มีนักเคมีได้ทำการสังเคราะห์น้ำหอมจาก สารเคมีจนได้กลิ่น ต่างๆ มากมายหลายพันกลิ่น จนกระทั่งน้ำหอมได้กระจายไปทั่ว จนเป็นอุตสาหกรรม ขนาดใหญ่อย่างที่เห็นในปัจจุบัน
              แม้ว่าน้ำหอมรุ่นใหม่ๆ ในปัจจุบันจะมีพื้นฐานเป็นส่วนผสมของแอลกอฮอล์ แต่ในสมัยอียิปต์โบราณหาได้เป็นเช่นนั้นไม่น้ำหอมมีบทบาทสำคัญในการเจริญก้าวหน้าของสังคมเป็นอย่างมากมีสองปัจจัยหลัก ในการใช้น้ำหอม ใน ขณะนั้นใช้ในการเผาเพื่อกลิ่นหอม และผสมเป็นขี้ผึ้งเพื่อทาตัว วิธีการอบหรือรมควัน ตลอดจนการเผาไม้หอม , เครื่องเทศ , ผลไม้แห้ง และยางไม้ต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งกลิ่นหอมนานาชนิดที่กระจายไปในอากาศได้กลายเป็นแนวทาง ปฏิบัติภายในวัดเพื่อพิธีกรรมทางศาสนาจากวัตถุดิบพื้นๆ ได้กลายเป็นการผสมผสานเครื่องหอมหลายชนิดเข้าด้วยกัน ให้ได้มาซึ่งกลิ่นหอมใหม่ๆ น้ำหอมได้ถูกสงวนไว้เพื่อใช้ในพิธีกรรมเฉลิมฉลองต่างๆ โดยเฉพาะ อาทิพิธีฉลองทำความสะอาดร่างกาย ใช้ชโลมร่างกายของผู้ตายและบูชาเทพเจ้า ในที่สุดน้ำหอมได้ถูกนำมาใช้สำหรับเทศกาลต่างๆ ในสมัยอาณาจักรสมัยใหม่ ปี ค.ศ. 1580 - 1085 ก่อนคริสตกาลซึ่งเรียกกันว่าเป็นน้ำหอมพิเศษสำหรับเทศกาลแต่อย่างไรก็ตามน้ำหอมเหล่านั้นก็ยังถูกจัดเตรียมขึ้นโดยพระผู้สอนศาสนา สตรีอียิปต์ก็ใช้น้ำหอมในรูปครีมและน้ำมันหอมระเหยในรูปของ TOILETRIES และเครื่องสำอางค์ เพื่อเสริมสร้างเสน่ห์ตัวเองกับคู่รักของตน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น